ศาสตร์และศิลป์ในการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวจูงใจ ดียิ่งกว่าการบังคับใจ ถือเป็นการให้เกียรติคนที่เราจะทำงานด้วย ให้เขาทำงานให้เราด้วยความเต็มใจ ผลที่ได้ คือ ความทุ่มเทอย่างสุดใจที่เขามีให้กับสิ่งที่ทำ
ไม่ว่าอยู่ในบริบทใดองค์กร “การสื่อสารกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็น” เพราะมนุษย์ต้องปฏิสัมพันธ์กัน งานจำนวนมากทำคนเดียวไม่ได้ บางงานต้องทำแบบเชิงรุก เข้าหาคน บางงานซับซ้อน ต้องใช้คนเป็นตัวขับเคลื่อนงาน ในขณะเดียวกัน มนุษญ์ก็ไม่ใช่เครื่องจักรที่จะสามารถกดปุุ่มสั่งงานแล้วจะทำงานได้ การจะใช้งานมนุษย์จึงต้องอาศัยการสื่อสารที่ดี มีศาสตร์และศิลป์ในการโน้มน้าวใจ เพื่อให้มนุษญ์ร่วมมือร่วมใจได้อย่างเกิดผล หัวหน้างานจึงต้องมีทักษะในการโน้มน้าวใจอยู่เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทใดก็ตาม อาทิ งานการขาย การตลาด ประชาสัมพันธ์ การระดมทุน การเชิญชวนผู้ลงทุน การสอนหนังสือ การบริหารทีม การสร้างความร่วมมือ ลดความขัดแย้ง การเจรจาหาคู่ค้า การระดมทุน การแปรเปลี่ยนขั้วตรงข้ามให้กลายเป็นพันธมิตร และอื่นๆ
ทั้งนี้ การบริหารคนให้ทำงานอย่างประสบความสำเร็จที่สุด คือ การจูงใจให้คนทำด้วยความเต็มใจ โดยเขาไม่รู้สึกว่าโดนบังคับ ปัญหาในองค์กรส่วนใหญ่ หลายคนเคยชินกับการใช้อำนาจบังคับ ผลที่ได้อาจสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่แน่นอนว่า ไม่ได้ผลที่ดีที่สุด
ในทางจิตวิทยา คนส่วนใหญ่มักจะไม่ชอบให้ใครตำหนิ ชอบได้รับการให้เกียรติ ยกย่อง ไม่ชอบให้ใครโต้เถียง-โดยเฉพาะต่อหน้าที่ประชุมหรือในกลุ่มคน ชอยคนอารมณ์ดีมากกว่าอารมณ์เสีย ต้องการให้คนอื่นเอาใจใส่และสนใจ ชอบให้ผู้อื่นพูดในเรื่องที่ตนสนใจ คนที่จะโน้มน้าวคนอื่นได้ ต้องเข้าใจบริบทเหล่านี้ และสามารถประยุกต์ใช้วิธีการต่างๆ เพื่อโน้มน้าวใจได้ ศาสร์และศิลป์ในการโน้มน้าวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
ศาสตร์และศิลป์ในการโน้มน้าวใจหลักศูตรนี้ นำเสนอทักษะการโน้มน้าวจูงใจในทุกมิติ ที่เกิดจากทวนซ้ำและการเลียนแบบธรรมชาติ ร่วมกับประสบการณ์อันยาวนาน และการศึกษาจากบุคคลต่างๆ ทั่วโล จนกลายเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติ เพื่อเรียนรู่+ฝึกฝน+นำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ ทั้งการทำงาน/ชีวิตส่วนตัว